พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
เข้าสู่ระบบ
หน้าแรก
เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ค้นหาข้อมูล
เข้าสู่ระบบ
เหรียญหลวงพ่อนา...
เหรียญหลวงพ่อนาม วัดเกาะโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง รุ่นแรก ปี 2500
เหรียญหลวงพ่อนาม วัดเกาะโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง รุ่นแรก ปี 2500
พระครูวิจารณโสภณ (นาม มณิโชโต)
อดีต เจ้าอาวาสวัดเกาะ เจ้าคณะตำบล บางพลับ อินทประมูล อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง
ชาติภูมิ นามเดิม ชือนาม นามสกุล สว่างแจ้ง เป็นบุตรคนที่ ๖ ในจำนวน ๗ คน ของนาย เทียน นางตุ้ย สว่างแจ้ง ( ประวัติของท่าน ในหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพ ระบุว่าท่าน เป็นบุตรคนที่ ๓ ในจำนวน ๔ คน) บิดามารดาของท่านประกอบอาชีพในการทำนา หาเลี้ยงบุตรธิดามาด้วยความสุจริต มานะ บากบั่น ขยันต่อการประกอบอาชีพ และยึดมั่นอยู่ในพระพุทธศาสนา บิดามารดาของท่านมีบุตรธิดารวม ๗ คน เมื่อบุตรธิดาเจริญวัยก็ได้ช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพด้วยความสุจริต ขยันหมั่นเพียร
นายนาม สว่างแจ้ง เกิด วันศุกร์ที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๔๖ ตรงกับวันขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๖ ปีเถาะ ณ ที่บ้านตำบลศาลาดิน อำเภอวิเศษไชยชาญจังหวัดอ่างทอง
เมื่อเจริญเติบโตขึ้น พอแก่วัยที่จะศึกษาเล่าเรียนเพื่อเป็นแนวทางต่อไปในอนาคต บิดา มารดาจึงได้ส่งเข้าศึกษาที่โรงเรียนวัดช้าง ตำบลศาลาดินซึ่งอยู่ใกล้กับบ้านของท่าน และในปีพุทธศักราช ๒๔๖๑ สอบไล่ได้ชั้นมัธยม ๑ (ป.๕ ในปัจุบันน)
ต่อมาเมื่ออายุครบเกณฑ์ราชการทหาร จึงได้เข้าคัดเลือกและเป็นทหารเมื่อปี พุทธศักราช ๒๔๖๖ สังกัดกรมทหารราบที่ ๓ จังหวัดพระนคร ท่านได้สร้างความดีความชอบในราชการทหารมีความอุตสาหะวิริยะ เป็นที่รักใคร่ของผู้บังคับบัญชา และเพื่อนทหารร่วมรุ่นทุกคน ฉะนั้นในปี พุทธศักราช ๒๔๖๗ ท่านจึงได้รับยศแต่งตั้งเป็น นายสิบตรี สังกัดกรมทหารราบที่ ๓ และรับราชการสนองพระพระคุณมาจนครบกำหนด จึงได้ลาออกจากราชการทหาร ยังความอาลัยรักใคร่ของผู้บังคับบัญชา และเพื่อนทหารร่วมรุ่นทุกคน จากนั้นได้กลับมาอยู่บ้านเพื่อช่วยบิดามารดาประกอบสัมมาอาชีพ
เมื่ออายุได้ ๒๒ ปีบริบูรณ์ บิดามารดาจึงได้ปรึกหารือกันกับญาติพี่น้องเพื่อทำการอุปสมบทและได้กำหนดการอุปสมบทขึ้นในวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๖๙ โดยมีพระครูสุกิจวิชาญ วัดข่อย เป็นพระอุปัชฌายะ พระอุปัชฌาย์ปลื้ม วัดช้าง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ผูก วัดสำโรง เป็นพระอนุสาวนาจารย์
เมื่ออุปสมบทแล้ว จึงได้ลงไปจำพรรษาอยู่กับพระมหาอรุณจันทร์ประสาท ณ วัดพระเชตุพน(วัดโพธิ์) ท่าเตียนจังหวัดพระนครและท่านมหาอรุณได้แนะนำ ให้ไปอยู่คณะกุฏิ (เดิม)เพื่อจะได้ศึกษาพระปริยัติธรรม เมื่อได้ศึกษาเป็นเวลาพอสมควรที่จะเข้าสอบธรรมสนามหลวง ท่านจึงได้สมัครเข้าสอบ และสอบได้นักธรรมตรี ท่านจำพรรษาอยู่ ณ วัดพระเชตุพนเป็นเวลา ๓ พรรษา จึงได้ลากลับขึ้นมาจำพรรษาอยู่ ณ วัดเกาะ ตำบลบางพลับ อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทองโดยมาอยู่กับท่านพระครูสุภารวินิต (เล็ก) และในปีพุทธศักราช ๒๔๗๑ ท่านจึงได้สมัครสอบธรรมสนามหลวง ที่วัดเกาะและสอบได้นักธรรมโท ในสมัยของท่านพระครูสุภาวินิต (เล็ก) อดีตเจ้าอาวาสวัดเกาะ ท่านได้เป็นพระฐานาพระใบฎีกา นาม มณิโชโต ของพระครูสุภารวินิต (เล็ก) เจ้าอาวาสวัดเกาะ เจ้าคณะแขวงโพธิ์ทอง แสวงหา จนกระทั้ง พระครูสุภารวินิต (เล็ก) มรณะภาพลง ท่านพระครูโพธิสารสุนทร (รอด) เจ้าอาวาสวัดโพธิ์เกรียบ เป็นเจ้าคณะแขวงโพธิ์ทอง แสวงหา ได้ตั้งให้ พระใบฎีการนาม มณิโชโต เป็น พระสมุห์นาม มณิโชโต ในฐานนุกรมของท่าน
ต่อมาท่านได้รับแต่งตั้งเป็น พระสมณศักดิ์ และดำรงตำแหน่งดังนี้
วันที่ ๑๐ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๗๘ เป็น เจ้าอาวาสวัดเกาะ
วันที่ ๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๘๐ เป็นเจ้าคณะตำบล
วันที่ ๒๐ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๘๔ เป็นพระอุปัชฌายะ
วันที่ ๒๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๗ เป็นสาธารณูปการอำเภอ
วันที่ ๘ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๙๐ ได้รับสมณศักดิ์ที่พระครูวิจารโสภณ
การปฏิบัติและผลงานของท่าน
ในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ได้ทำการรื้ออุโบสถหลังเก่าที่ชำรุด จนใช้ประกอบศาสนกิจไม่ได้แล้วและได้ทำการก่อสร้างขึ้นใหม่อย่างสวยงาม
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้ทำการรื้อหอสวดมนต์หลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมและทำการก่อสร้างขึ้นใหม่เสร็จเรียบร้อย
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ได้รื้อศาลาการเปรียญหลังเก่าที่ทรุดโทรม ไม่สามารถใช้ประกอบศาสนกิจได้ และได้ทำการก่อสร้างขึ้นใหม่ เสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นเสาคอนกรีตและนับว่าใหญ่โตที่สุด ในระยะนั้นของจังหวัดอ่างทองซึ่งมีความยาว ๑๘ วา กว้าง ๘ วาเศษ และเป็นศาลาที่สวยงาม ทั้งยังได้ทำการปฏิสังขรณ์หอระฆังทั้ง ๒ หลังที่ชำรุดทรุดโทรมด้วย
นอกจากนั้นท่านเป็นผู้ดำริให้มีการสร้างโรงเรียนระดับมัธยมขึ้นเป็นแห่งแรกในอำเภอโพธิ์ทอง คือโรงเรียนมัธยมผ่องพิทยา ท่านได้ก่อตั้งมูลนิธิ สำหรับโรงเรียนขึ้นมา และเปลียนชื่อของโรงเรียน เป็นโรงเรียนมัธยมผ่องพิทยามูลธิ (วิจารณโสภณอุปถัมถ์) ตั้งอยู่ในบริเวณวัดเกาะ เพื่อให้กุลบุตรกุลธิดาของประชาชนทั่วไป ได้ศึกษาเล่าเรียนคนที่อยู่ไกลออกไป ท่านก็ให้มาอาศัยอยู่ที่วัดเกาะเลย ท่านได้เป็นประธานในการก่อสร้างและเป็นผู้อุปถัมถ์ โรงเรียนที่วัดเกาะอีก ๒ แห่งคือ
โรงเรียนโพธิ์ทองเพิ่มพิทยาภูมิ
โรงเรียนโพธิ์ทอง (สามัญศึกษา)
ทั้งยังได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ศาลาพักร้อน ถนนคอนครีตในบริเวณวัดเกาะอีกด้วย
ในการบูรณะวัดขุนอินทประมูลใหม่ และขออนุญาตยกวัดร้าง มาเป็นวัดราษฏร์ แล้วจัดให้มีพระภิกษุสามเณรจำพรรษานั้น ท่านก็เป็นผู้นำในการดำเนินการดังกล่าว
ในปีพ.ศ.๒๕๒๓ ได้ทำการก่อตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี-แผนกธรรม และได้ก่อตั้งมูลนิธิเพื่อการศึกษาของเยาวชน วิจารณ์โสภณ วัดเกาะ มีพระภิกษุ สามเณรได้เข้าศึกษาหาความรู้ทั้งแผนกบาลี แผนกธรรมเป็นจำนวนมาก แล้วเข้าสอบสนามหลวง และสามารถสอบได้ตั้งแต่ประโยค๑-๗ เป็นจำนวนมาก
ในด้านประชาชน และศิษยานุศิษย์ การประกอบภารกิจในทางพระพุทธศาสนา ท่านพระครูวิจารโสภณ เป็นที่เคารพของประชาชนและศิษยานุศิษย์โดยทั่วไป จนเป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญสมกับสมณศักดิ์
ที่ได้รับพระราชทานว่า วิจารโสภณ
ท่านได้มรณภาพ เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๕ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๓๐ ตรงกับวันแรม ๑๒ ค่ำ เดือนยี่ ( เดือน ๒) ปีเถาะ เวลา ๐๗.๒๕น. ซึ่งตรงกับปีเกิด (ปีเถาะ) ของท่านพอดีรวมสิริอายุได้ ๘๔ ปี
ผู้เข้าชม
183 ครั้ง
ราคา
30,000
สถานะ
ยังอยู่
โดย
พล ปากน้ำ
ชื่อร้าน
ยังไม่เปิดร้านค้า
ร้านค้า
-
โทรศัพท์
0843200110
ไอดีไลน์
kochalermpol
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
ยังไม่ส่ง ข้อมูลยืนยันตัวตน
เหรียญพิทักษ์แดนใต้ หลวงปู่ทวด
เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสิน หน่
เหรียญหลวงพ่อเล็ก วัดป่าไก่ รุ
พระพิมพ์ข้างรัศมี ผงว่านพุทธคุ
เหรียญพระราชทานศาลาการเปรียญ ห
เหรียญหลวงพ่อตัด วัดชายนา จังห
เหรียญปืนไขว้ หลวงพ่อชม วัดเขา
เหรียญหลวงพ่อทองอยู่ วัดบางพระ
พระร่วงฤทธิโรจน์พิมพ์ใหญ่ หลวง
เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
ลงพระฟรี
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ลืมรหัสผ่าน
ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
jocho
เนินพระ99
ม่อน นครนนท์
บ้านพระสมเด็จ
บ้านพระหลักร้อย
พระคุ้มครอง
NongBoss
kaew กจ.
เจริญสุข
บี บุรีรัมย์
fuchoo18
MeeDee Amulet
hopperman
termboon
nattapol
ยอด วัดโพธิ์
someman
somyong
ว.ศิลป์สยาม
tatingtating
แหลมร่มโพธิ์
Le29Amulet
tumlawyer
ชา วานิช
แจ่ม
Taeypk30
เปียโน
natthanet
ponsrithong2
maymy
ผู้เข้าชมขณะนี้ 1440 คน
เพิ่มข้อมูล
เหรียญหลวงพ่อนาม วัดเกาะโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง รุ่นแรก ปี 2500
ส่งข้อความ
ชื่อพระเครื่อง
เหรียญหลวงพ่อนาม วัดเกาะโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง รุ่นแรก ปี 2500
รายละเอียด
เหรียญหลวงพ่อนาม วัดเกาะโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง รุ่นแรก ปี 2500
พระครูวิจารณโสภณ (นาม มณิโชโต)
อดีต เจ้าอาวาสวัดเกาะ เจ้าคณะตำบล บางพลับ อินทประมูล อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง
ชาติภูมิ นามเดิม ชือนาม นามสกุล สว่างแจ้ง เป็นบุตรคนที่ ๖ ในจำนวน ๗ คน ของนาย เทียน นางตุ้ย สว่างแจ้ง ( ประวัติของท่าน ในหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพ ระบุว่าท่าน เป็นบุตรคนที่ ๓ ในจำนวน ๔ คน) บิดามารดาของท่านประกอบอาชีพในการทำนา หาเลี้ยงบุตรธิดามาด้วยความสุจริต มานะ บากบั่น ขยันต่อการประกอบอาชีพ และยึดมั่นอยู่ในพระพุทธศาสนา บิดามารดาของท่านมีบุตรธิดารวม ๗ คน เมื่อบุตรธิดาเจริญวัยก็ได้ช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพด้วยความสุจริต ขยันหมั่นเพียร
นายนาม สว่างแจ้ง เกิด วันศุกร์ที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๔๖ ตรงกับวันขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๖ ปีเถาะ ณ ที่บ้านตำบลศาลาดิน อำเภอวิเศษไชยชาญจังหวัดอ่างทอง
เมื่อเจริญเติบโตขึ้น พอแก่วัยที่จะศึกษาเล่าเรียนเพื่อเป็นแนวทางต่อไปในอนาคต บิดา มารดาจึงได้ส่งเข้าศึกษาที่โรงเรียนวัดช้าง ตำบลศาลาดินซึ่งอยู่ใกล้กับบ้านของท่าน และในปีพุทธศักราช ๒๔๖๑ สอบไล่ได้ชั้นมัธยม ๑ (ป.๕ ในปัจุบันน)
ต่อมาเมื่ออายุครบเกณฑ์ราชการทหาร จึงได้เข้าคัดเลือกและเป็นทหารเมื่อปี พุทธศักราช ๒๔๖๖ สังกัดกรมทหารราบที่ ๓ จังหวัดพระนคร ท่านได้สร้างความดีความชอบในราชการทหารมีความอุตสาหะวิริยะ เป็นที่รักใคร่ของผู้บังคับบัญชา และเพื่อนทหารร่วมรุ่นทุกคน ฉะนั้นในปี พุทธศักราช ๒๔๖๗ ท่านจึงได้รับยศแต่งตั้งเป็น นายสิบตรี สังกัดกรมทหารราบที่ ๓ และรับราชการสนองพระพระคุณมาจนครบกำหนด จึงได้ลาออกจากราชการทหาร ยังความอาลัยรักใคร่ของผู้บังคับบัญชา และเพื่อนทหารร่วมรุ่นทุกคน จากนั้นได้กลับมาอยู่บ้านเพื่อช่วยบิดามารดาประกอบสัมมาอาชีพ
เมื่ออายุได้ ๒๒ ปีบริบูรณ์ บิดามารดาจึงได้ปรึกหารือกันกับญาติพี่น้องเพื่อทำการอุปสมบทและได้กำหนดการอุปสมบทขึ้นในวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๖๙ โดยมีพระครูสุกิจวิชาญ วัดข่อย เป็นพระอุปัชฌายะ พระอุปัชฌาย์ปลื้ม วัดช้าง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ผูก วัดสำโรง เป็นพระอนุสาวนาจารย์
เมื่ออุปสมบทแล้ว จึงได้ลงไปจำพรรษาอยู่กับพระมหาอรุณจันทร์ประสาท ณ วัดพระเชตุพน(วัดโพธิ์) ท่าเตียนจังหวัดพระนครและท่านมหาอรุณได้แนะนำ ให้ไปอยู่คณะกุฏิ (เดิม)เพื่อจะได้ศึกษาพระปริยัติธรรม เมื่อได้ศึกษาเป็นเวลาพอสมควรที่จะเข้าสอบธรรมสนามหลวง ท่านจึงได้สมัครเข้าสอบ และสอบได้นักธรรมตรี ท่านจำพรรษาอยู่ ณ วัดพระเชตุพนเป็นเวลา ๓ พรรษา จึงได้ลากลับขึ้นมาจำพรรษาอยู่ ณ วัดเกาะ ตำบลบางพลับ อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทองโดยมาอยู่กับท่านพระครูสุภารวินิต (เล็ก) และในปีพุทธศักราช ๒๔๗๑ ท่านจึงได้สมัครสอบธรรมสนามหลวง ที่วัดเกาะและสอบได้นักธรรมโท ในสมัยของท่านพระครูสุภาวินิต (เล็ก) อดีตเจ้าอาวาสวัดเกาะ ท่านได้เป็นพระฐานาพระใบฎีกา นาม มณิโชโต ของพระครูสุภารวินิต (เล็ก) เจ้าอาวาสวัดเกาะ เจ้าคณะแขวงโพธิ์ทอง แสวงหา จนกระทั้ง พระครูสุภารวินิต (เล็ก) มรณะภาพลง ท่านพระครูโพธิสารสุนทร (รอด) เจ้าอาวาสวัดโพธิ์เกรียบ เป็นเจ้าคณะแขวงโพธิ์ทอง แสวงหา ได้ตั้งให้ พระใบฎีการนาม มณิโชโต เป็น พระสมุห์นาม มณิโชโต ในฐานนุกรมของท่าน
ต่อมาท่านได้รับแต่งตั้งเป็น พระสมณศักดิ์ และดำรงตำแหน่งดังนี้
วันที่ ๑๐ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๗๘ เป็น เจ้าอาวาสวัดเกาะ
วันที่ ๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๘๐ เป็นเจ้าคณะตำบล
วันที่ ๒๐ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๘๔ เป็นพระอุปัชฌายะ
วันที่ ๒๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๗ เป็นสาธารณูปการอำเภอ
วันที่ ๘ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๙๐ ได้รับสมณศักดิ์ที่พระครูวิจารโสภณ
การปฏิบัติและผลงานของท่าน
ในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ได้ทำการรื้ออุโบสถหลังเก่าที่ชำรุด จนใช้ประกอบศาสนกิจไม่ได้แล้วและได้ทำการก่อสร้างขึ้นใหม่อย่างสวยงาม
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้ทำการรื้อหอสวดมนต์หลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมและทำการก่อสร้างขึ้นใหม่เสร็จเรียบร้อย
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ได้รื้อศาลาการเปรียญหลังเก่าที่ทรุดโทรม ไม่สามารถใช้ประกอบศาสนกิจได้ และได้ทำการก่อสร้างขึ้นใหม่ เสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นเสาคอนกรีตและนับว่าใหญ่โตที่สุด ในระยะนั้นของจังหวัดอ่างทองซึ่งมีความยาว ๑๘ วา กว้าง ๘ วาเศษ และเป็นศาลาที่สวยงาม ทั้งยังได้ทำการปฏิสังขรณ์หอระฆังทั้ง ๒ หลังที่ชำรุดทรุดโทรมด้วย
นอกจากนั้นท่านเป็นผู้ดำริให้มีการสร้างโรงเรียนระดับมัธยมขึ้นเป็นแห่งแรกในอำเภอโพธิ์ทอง คือโรงเรียนมัธยมผ่องพิทยา ท่านได้ก่อตั้งมูลนิธิ สำหรับโรงเรียนขึ้นมา และเปลียนชื่อของโรงเรียน เป็นโรงเรียนมัธยมผ่องพิทยามูลธิ (วิจารณโสภณอุปถัมถ์) ตั้งอยู่ในบริเวณวัดเกาะ เพื่อให้กุลบุตรกุลธิดาของประชาชนทั่วไป ได้ศึกษาเล่าเรียนคนที่อยู่ไกลออกไป ท่านก็ให้มาอาศัยอยู่ที่วัดเกาะเลย ท่านได้เป็นประธานในการก่อสร้างและเป็นผู้อุปถัมถ์ โรงเรียนที่วัดเกาะอีก ๒ แห่งคือ
โรงเรียนโพธิ์ทองเพิ่มพิทยาภูมิ
โรงเรียนโพธิ์ทอง (สามัญศึกษา)
ทั้งยังได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ศาลาพักร้อน ถนนคอนครีตในบริเวณวัดเกาะอีกด้วย
ในการบูรณะวัดขุนอินทประมูลใหม่ และขออนุญาตยกวัดร้าง มาเป็นวัดราษฏร์ แล้วจัดให้มีพระภิกษุสามเณรจำพรรษานั้น ท่านก็เป็นผู้นำในการดำเนินการดังกล่าว
ในปีพ.ศ.๒๕๒๓ ได้ทำการก่อตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี-แผนกธรรม และได้ก่อตั้งมูลนิธิเพื่อการศึกษาของเยาวชน วิจารณ์โสภณ วัดเกาะ มีพระภิกษุ สามเณรได้เข้าศึกษาหาความรู้ทั้งแผนกบาลี แผนกธรรมเป็นจำนวนมาก แล้วเข้าสอบสนามหลวง และสามารถสอบได้ตั้งแต่ประโยค๑-๗ เป็นจำนวนมาก
ในด้านประชาชน และศิษยานุศิษย์ การประกอบภารกิจในทางพระพุทธศาสนา ท่านพระครูวิจารโสภณ เป็นที่เคารพของประชาชนและศิษยานุศิษย์โดยทั่วไป จนเป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญสมกับสมณศักดิ์
ที่ได้รับพระราชทานว่า วิจารโสภณ
ท่านได้มรณภาพ เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๕ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๓๐ ตรงกับวันแรม ๑๒ ค่ำ เดือนยี่ ( เดือน ๒) ปีเถาะ เวลา ๐๗.๒๕น. ซึ่งตรงกับปีเกิด (ปีเถาะ) ของท่านพอดีรวมสิริอายุได้ ๘๔ ปี
ราคาปัจจุบัน
30,000
จำนวนผู้เข้าชม
184 ครั้ง
สถานะ
ยังอยู่
โดย
พล ปากน้ำ
ชื่อร้าน
ยังไม่เปิดร้านค้า
URL
-
เบอร์โทรศัพท์
0843200110
ID LINE
kochalermpol
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
ยังไม่ส่ง ข้อมูลยืนยันตัวตน
กำลังโหลดข้อมูล
หน้าแรกลงพระฟรี